วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

มรดกโลก


มรดกโลก

มรดกโลก

มรดกโลก (อังกฤษWorld Heritage Siteฝรั่งเศสPatrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น

การแบ่งประเภทของมรดกโลก
            มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก 

ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก

ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบ   และพิจารณาจากองค์กรที่ปรึกษา  ได้แก่ สภาระหว่างประเทศว่าด้วยโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี” (The International Council on Monuments and Sites หรือ ICOMOS) และ "ศูนย์ระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษา การอนุรักษ์ และปฏิสังขรณ์สมบัติทางวัฒนธรรม" (The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of the Cultural Property หรือ ICCROM) ในส่วนของมรดกทางวัฒนธรรมและ "สหภาพการอนุรักษ์โลก" (The World Conservation Union หรือ IUCN) ในส่วนของมรดกทางธรรมชาติแล้วทั้งสามองค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลกทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ


มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้


            ปัจจุบัน (พุทธศักราช ๒๕๕๓) มีมรดกโลกทั้งหมด ๙๓๖ แห่ง ใน ๑๕๑ ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๗๒๕ แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ ๑๘๓ แห่ง และอีก ๒๘ แห่ง  เป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น ๕ พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา  อาหรับ  เอเชีย-แปซิฟิก ยุโรป-อเมริกาเหนือ และละตินอเมริกา-แคริบเบียน 


พื้นที่
มรดกโลก
ธรรมชาติ
วัฒนธรรม
ผสม
ทั้งหมด
๓๓
๔๕
๘๒
๖๔
๗๐
๕๒
๑๔๓
๒๐๔
๕๙
๓๘๕
๑๐
๔๕๔
๓๕
๘๘
๑๒๖
  รวม
๑๘๓
๗๒๕
๒๘
๙๓๖



มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก


            ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (State Party of the World Heritage Convention) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๐  และเคยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) มาแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๓๒ – ๒๕๓๘  ครั้งที่สอง ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๔๐– ๒๕๔๖  และครั้งล่าสุดระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ – ๒๕๕


ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ๕ แห่ง ดังนี้
แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๓ แห่ง
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ๒ แห่ง



            และยังมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ใน    “บัญชีรายชื่อเบื้องต้น”   (Tentative List)  รอการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลกอีก ๒ แห่ง ได้แก่
     1. ปราสาทพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ ได้รับการเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น” (Tentative List)  ของยูเนสโก ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ และรอการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ภายใต้ชื่อแหล่งว่า ปราสาทหินพิมายและเส้นทางวัฒนธรรม และปราสาทพนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำ” (Phimai, its Cultural Rout and the Associated  Temples of Phanomroong and Muangtam)
     2. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ได้รับการเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ใน บัญชีรายชื่อเบื้องต้น
( Tentative List)
 ของยูเนสโก ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ และรอการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ภายใต้ชื่อแหล่งว่า อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
” ( Phuphrabat Historical Park)


สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก


   ไทยถอนมรดกโลก!ชี้ยูเนสโกไม่ฟังข้อทักท้วง
ข่าวต่างประเทศ วันอาทิตย์ที่ 26 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2554 01:02 น.

สุวิทย์ คุณกิตติ ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกมรดกโลก ชี้
ยูเนสโกไม่ยอมฟังไทยดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชาที่รุกล้ำอธิปไตยของไทย ยันคณะกรรมการมรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รักษาการ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้า
คณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทยได้ยื่นจดหมายลาออกจากการเป็นภาคีคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว หลัง ยูเนสโกไม่ยอมฟังไทย ดึงดันจะบรรจุวาระประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชา โดยการลาออกดังกล่าวของไทย ทำให้ชาติสมาชิกค่อนข้างตกใจ
เพราะ
ไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ลาออกจากคณะกรรมการนี้ โดยฝ่ายไทยเห็นว่า
คณะกรรมการมรดกโลกไม่ฟังข้อทักท้วงของไทย ในการปรับแก้ข้อความและถ้อยคำในร่างมติการประชุมล่วงหน้าเกี่ยวกับแผนดังกล่าว ตามข้อเสนอของกัมพูชา 
ซึ่งอาจจะกระทบถึงอธิปไตยของไทยบนเขาพระวิหาร
โดย หัวหน้าคณะฯไทย กล่าวว่า ไทยยอมรับไม่ได้เพราะว่ามันจะมีผลกระทบกับเรื่องของดินแดนและอำนาจอธิปไตยของไทย
ทั้งนี้ นาย สุวิทย์ ได้กล่าวว่า 
สิ่งที่ยูเนสโกตัดสินใจนั้นถือว่า ขัดกับอนุสัญญาของยูเนสโกเองโดยบอกว่าบอกการกระทำที่เกิดขึ้นของยูเนสโก จะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันอีกครั้งบริเวณพื้นที่พิพาท ทั้งนี้ นายสุวิทย์ ได้นำจดหมาย และแถลงให้ผู้สื่อข่าวฟัง ถึงการตัดสินใจ และรวมถึงบรรยากาศในห้องประชุม ยืนยันว่า เป็นการกระทำที่ได้ไตร่ตรอง รวมถึง ได้รับการอนุมัติจากนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแล้ว
โดยนายสุวิทย์ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า 
ไทยได้ต่อสู้เรื่องนี้มาตลอด2-3ปี รู้สึกเสียใจที่คณะกรรมการมรดกโลกตัดสินใจ โดยบอกว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นชาติยุโรป ซึ่งคณะกรรมการไม่เล็งเห็นความสำคัญเรื่องพรมแดน เพราะปัจจุบันยุโรปนั้นไร้พรมแดน เลยเห็นเรื่องวัตถุสิ่งของโบราณสถานสำคัญกว่า เนื่องจากคณะกรรมการมรดกโลกไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติในอนุสัญญามรดกโลกมาตั้งแต่การประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อ ปีก่อน ทั้งที่กัมพูชากับไทยยังมีปัญหาเรื่องขอบเขตพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนมาจนถึงปัจจุบัน แต่คณะกรรมการมรดกโลกกลับมีท่าทีที่จะยอมรับการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ของกัมพูชาที่เสนอเข้ามาในการประชุมปีนี้ ซึ่งเนื้อหาและแผนผังแนบท้ายระบุชัดเจนว่าจะมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหลายอย่างในเขตแดนของไทย
นายสุวิทย์ กล่าวว่า การถอนตัวดังกล่าวถือว่ามีผลทันที ซึ่งจากนี้ไปคณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณารับหรือไม่รับข้อเสนอใดๆ ของกัมพูชา ก็จะไม่มีข้อผูกพันใดๆ กับไทย และไม่สามารถรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยได้ การถอนตัวครั้งนี้ยังมีผลให้นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเป็น ใน 21 คณะกรรมการมรดกโลก พ้นจากตำแหน่งไปด้วย

ผลการเลือกตั้ง

ผลการเลือกตั้ง 3 กค 2554
รายงานผลการเลือกตั้ง 3 ก.ค. 2554
พรรคการเมืองแต่ละพรรคได้สส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งกี่คน แบบบัญชีรายชื่อแบบบัญชีรายชื่อกี่คน  รวมได้สส.กี่คน

     ชื่อพรรค                         ส.ส.บัญชีรายชื่อ                 ส.ส.แบ่งเขต              รวม   
1.เพื่อไทย                                             61                                  204                 265
2.ประชาธิปัตย์                                      44                                  115                 159
3.ภูมิใจไทย                                          5                                      29                  34
4.ชาติไทยพัฒนา                                   4                                      15                  19
5.ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน                        2                                        5                    7
6.พลังชล                                              1                                        6                    7
7.รักประเทศไทย                                 4                                         -                    4
8.มาตุภูมิ                                              1                                         1                   2
9.รักษ์สันติ                                          1                                         -                    1
10,มหาชน                                           1                                         -                    1
11.ประชาธิปไตยใหม่                          1                                         -                     1
          รวม                                      125                                      375                 500






                       พรรคร่วมรัฐบาลมี พรรค

    เพื่อไทยได้                                                       262 คน
    ชาติไทยพัฒนาได้                                               19 คน
    ชาติพัฒนาแผ่นดินได้                                           9 คน
    พลังชลได้                                                          7 คน
    มหาชนได้                                                          1 คน
    ประชาธิปไตยใหม่ได้                                         1 คน
   รวมทั้งสิ้นพรรคร่วมรัฐบาลมีสส.                     300 คน




พรรคการเมืองฝ่ายค้านประกอบด้วยกี่พรรค แต่ละพรรคมีสส.กี่คน รวมฝ่ายค้านทั้งสิ้นกี่คน

                   พรรคฝ่ายค้านมี                      พรรค
                   ประชาธิปปัตย์ได้                  160 คน
                   ภูมิใจไทยได้                          34 คน
                   รักประเทศไทยได้                   คน 
                   มาตุภูมิได้                               คน
                   รักสันติได้                              คน
                   รวมฝ่ายค้านทั้งหมด            200 คน

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมืองไทยปี2554

1ตราสัญลักษณ์พรรคเพื่อไทย    พรรคเพื่อไทย (ย่อว่า: พท.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมี นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
สำนักงานใหญ่ของพรรค ตั้งอยู่ที่ 1770 อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน (ย้ายมาจากอาคารนวสร ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ 626 อาคาร บีบีดี บิลดิง ซอยจินดาถวิล ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500) และสำนักงานสาขาพรรคแห่งแรก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นสาขาพรรคพลังประชาชนเดิม[2]

หัวหน้าพรรค


ลำดับรูปรายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระตำแหน่งสำคัญ
1
บัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ20 กันยายนพ.ศ. 255020 กันยายนพ.ศ. 2551
2Suchart.jpgดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช
(8 สิงหาคมพ.ศ. 2495— )
21 กันยายนพ.ศ. 255119 พฤศจิกายนพ.ศ. 2551• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
• อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
3Yongyuth Wichaidit.jpgยงยุทธ วิชัยดิษฐ
(15 กรกฎาคมพ.ศ. 2485— )
7 ธันวาคมพ.ศ. 2551ปัจจุบัน• อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
• อดีตอธิบดีกรมที่ดิน
• อดีตประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
• อดีตประธานกรรมการการประปานครหลวง
• อดีตประธานกรรมการตรวจสอบของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล


2.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
ผู้นำวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
ประธานที่ปรึกษาสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
เลขาธิการประเชิญ ติยะปัญจนิตย์ (รักษาการ)
โฆษกเทพสิทธิ์ ประวาหะนาวิน
นโยบายหันหน้าเข้าหากัน สร้างประเทศไทย รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย พลังไทยสร้างชาติ
1. สังคมมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง เศรษฐกิจยั่งยืน
2. สุขภาพดีทั่วไทย กีฬาสร้างชาติ ประชาชนมีคุณภาพ ขยายระบบสวัสดิการสังคม
3. เกษตรกรไยต้องรวย ค่าแรงดีมีงานทำ สร้างเถ่าแก่เงินล้าน เชื่อมสัมพันธ์การค้าไทยสู่ตลาดโลก
4. ทุกทิศทุกทางเดินทางทั่วถึง ตรึงราคาแก๊ส-น้ำมัน เพิ่มรายได้การท่องเที่ยว เพิ่มเงินอุดหนุนท้องถิ่น[1]
คำขวัญประชาสมคิด เพื่อชีวิตสมหวัง
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2550
514/1 ถ.หลานหลวง ี่แยกมหานาค ดุสิต กทม 
3.พรรคประชากรไทย
พรรคประชากรไทย
ผู้นำสุมิตร สุนทรเวช
เลขาธิการสมบูรณ์ เวสสุนทรเทพ
โฆษกเฉลิม เจ๊กแสง
ก่อตั้ง26 กรกฎาคม พ.ศ. 2525
สำนักงานใหญ่1213/323 ถนนศรีวรา แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลางกรุงเทพฯ 10310


 พรรคประชากรไทย (อังกฤษ: Thai Citizen Party - TCP, ย่อว่า: ปชท.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2525[1] ณ บริเวณสนามชัยข้างพระบรมมหาราชวังโดยมีนายสมัคร สุนทรเวชเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522
โดยผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้ง 29 ที่นั่ง จากจำนวน 32 ที่นั่งในกรุงเทพมหานคร และอีก 3 ที่นั่งในต่างจังหวัด
ต่อมาเมื่อพรรคประชากรไทยได้จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมายแล้ว เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2525 จึงได้ส่งข้อมูลสมาชิกและการดำเนินกิจการของพรรคให้กับกระทรวงมหาดไทย ในฐานะที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง จนกระทั่งเมื่อเกิดมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540พรรค จึงได้จัดส่งข้อมูลการดำเนินกิจการของพรรคให้กับกกต.โดยตรงในฐานะนายทะเบียน พรรคการเมืองตามกฎหมาย และกระทรวงมหาดไทยจะได้จัดส่งข้อมูลเดิมที่มีอยู่ให้กับคณะกรรมการการเลือก ตั้งต่อไป
พรรคประชากรไทย จัดเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก มีฐานเสียงที่สำคัญอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีบุคคลสำคัญอันเป็นเสมือนเอกลักษณ์ของพรรค คือ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค แต่หลังจากปีพ.ศ. 2540 แล้ว พรรคประชากรไทยมีบทบาทการเมืองในระดับประเทศลดลง อีกทั้งมีสมาชิกพรรคจำนวน 12 คน หันไปให้การสนับสนุนนายชวน หลีกภัย ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2ด้วย ซึ่งขัดต่อความเห็นของนายสมัคร หัวหน้าพรรค ซึ่งเรียกกันว่า "กลุ่มงูเห่า" ในปี พ.ศ. 2543 นายสมัคร ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ไม่ได้ลงสมัครในนามของพรรค
พรรคประชากรไทย ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 และปี พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเลยแม้สักที่นั่งเดียว
ปัจจุบัน มีหัวหน้าพรรค คือ นายสุมิตร สุนทรเวช น้องชายของนายสมัคร ที่ทำการพรรคตั้งอยู่ที่ ถนนศรีวรา แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กทม.
4.พรรครักประเทศไทย 

   พรรครักประเทศไทย (อังกฤษ: Rak Thailand Party) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[2] โดยมีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ เป็นเลขาธิการพรรค

พรรครักประเทศไทย
ผู้นำชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
เลขาธิการชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์
โฆษกวินัย ตั้งใจ
นโยบายเมื่อ ทุกพรรคต้องการเป็นรัฐบาลเพื่อให้ได้เข้าไปบริหารประเทศ ได้สัมปทานประเทศไทย ผลประโยชน์มหาศาลนี้ ต้องมีคนตรวจสอบ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น เกิดมาทุกยุค ทุกสมัย ทุกรัฐบาล พรรครักประเทศไทยขอเสนอตัวเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบการทำงาน ติดตามนโยบายต่างๆ ที่บรรดานักการเมืองให้คำมั่นสัญญาเมื่อได้เข้าไปบริหารประเทศ ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง[1]
ก่อตั้ง18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สำนักงานใหญ่188 แขวงคลองเตย เขตคลองเตยกรุงเทพ
5.พรรคพลังชค

พรรคพลังชล
ผู้นำรศ.เชาวน์ มณีวงษ์
ประธานที่ปรึกษาสนธยา คุณปลื้ม
เลขาธิการปิลันธน์ดิลก จิตรธรรม
นโยบายมี ส่วนร่วมด้านการเมือง กระจายอำนาจ พัฒนาการเกษตร อุตสาหกรรม-ส่งออก การท่องเที่ยว เศรษฐกิจพอเพียง สถาบันครอบครัว พัฒนาคุรภาพชีวิต บริการสาธารณสุข การอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ปราบปรามยาเสพติด ส่งเสริมคุณภาพครู พัฒนาหลักสูตร พัฒนาระบบโลจิสติกส์ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ ความร่วมมือระหว่างประเทศ[1]
คำขวัญเทิดทูนสถาบัน ยึดมั่นประชาชน
ก่อตั้ง4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
สำนักงานใหญ่36/2 ถนนบางแสนล่าง ตำบลแสนสุขอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
พรรคพลังชล เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 นำโดยสนธยา คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรีหลายสมัย[2] พร้อมด้วยอดีต ส.ส.กลุ่มชลบุรี ซึ่งแต่เดิมสมาชิกในกลุ่มชลบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
พรรคพลังชล มีรองศาสตราจารย์ เชาว์ มณีวงษ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายปิลันธน์ดิลก จิตรธรรม เป็นเลขาธิการพรรค[3] ซึ่งพรรคพลังชลมีคำขวัญว่า "เทิดทูนสถาบัน ยึดมั่นประชาชน"[4] โดยมีฐานเสียงสำคัญในเขตเลือกตั้งจังหวัดชลบุรี และพื้นที่ภาคตะวันออก

6.พรรคประชาธิปัตย์

พรรคประชาธิปัตย์
ผู้นำอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประธานที่ปรึกษาชวน หลีกภัย
เลขาธิการสุเทพ เทือกสุบรรณ
โฆษกบุรณัชย์ สมุทรักษ์
นโยบายครอบ ครัวต้องเดินหน้า เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายด้วยการมอบเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุทุกคน มีไฟฟ้าฟรีให้ผู้ที่ใช้น้อย ตรึงราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซหุงต้ม เพิ่มเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และจัดการปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาด เศรษฐกิจต้องเดินหน้า ยกระดับความเป็นอยู่ด้วยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มเงินกำไรในการประกันรายได้เกษตรกร ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ ให้เกษตรกรมีที่ทำกิน และมีบำเหน็จบำนาญให้ประชาชนทุกคน ประเทศต้องเดินหน้า พัฒนาศักยภาพของประเทศด้วยการเร่งจัดกาพลังงานทดแทน สร้าบงเขตเศรษญกิจเพื่อยกระดับสินค้า มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกรุงเทพฯ และภูมิภาค และจัดหาแหล่งน้ำ[1]
คำขวัญสจฺจํเว อมตา วาจา
(คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย)
ก่อตั้ง6 เมษายน พ.ศ. 2489 (65 ปี)
สำนักงานใหญ่67 ถนนเศรษฐศิริ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
พรรคประชาธิปัตย์ (อังกฤษ: Democrat Party - DP, ย่อว่า: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่[2] พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวนประมาณ 2,869,363 คน มีสาขาพรรคจำนวน 190 สาขา[3]
ปัจจุบัน พรรคประชาปัตย์เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน


7.พรรครักษ์สันติ
พรรครักษ์สันติ
ผู้นำพลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์
ประธานที่ปรึกษาศ.ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
เลขาธิการรศ.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ
โฆษกวิริยะ เตชะรุ่งโรจน์
นโยบายเป็น ธรรมทั่วไทย ต้านภัยธรรมชาติ วางมาตรการภาษีที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลผลิตเกษตรกร เพิ่มความแน่นอนในธุรกิจ ผลผลิตเพียงพอบริโภค ปราศจากโรคภัย ใช้ปัญญาทำการพัฒนา คนชราได้รับการดูแล เป็นสุขแท้สังคมไทยไร้ยาเสพติด สร้างจิตสาธารณะ ลดละการทุจริต ร่วมใจร่วมสปิริตสู่อาเซียน มุ่งพากเพียรอนุรักษ์ความเป็นไทย เชิดชูยกย่องในบรรพชน[1]
คำขวัญสามัคคี กินดีมีสุข ทุกที่เป็นธรรม นำชาติรุ่งเรือง
ก่อตั้ง21 เมษายน พ.ศ. 2554
สำนักงานใหญ่14/23 หมู่ที่ 8 ถนนประดิษฐ์มนูธรรม เขตลาดพร้าว กทม 10230


      พรรครักษ์สันติ (อังกฤษ: RAK SANTI PARTY) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 โดยมีศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็น ประธานที่ปรึกษาพรรค มีพลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีรองศาสตราจารย์ ดร.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ เป็นเลขาธิการพรรค[2] ซึ่ง พรรครักษ์สันติมีแนวความคิดที่จะแยกกรรมการบริหารพรรค ออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค เพื่อแยกงานอำนวยการกับงานการเมืองออกจากกัน[3]
พรรค รักษ์สันติ มีคำขวัญว่า "สามัคคี กินดีมีสุข ทุกที่เป็นธรรม นำชาติรุ่งเรือง" มุ่งดำเนินแนวนโยบายในการเป็นพรรคทางเลือก และเป็นกลางทางการเมือง โดยมีนักการเมือง นักวิชาการ และผู้มีชื่อเสียงเข้าร่วมงานกับพรรค อาทิ ผศ.ดร.นพดล อินนา รศ.ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน วีระชัย ไชยวรรธนะ พันธ์เลิศ ใบหยก พญ.วิวรรณ นิติวรางกูร นพ.ประจวบ อึ๊งภากร พีระพงศ์ สาคริก และ รศ.นงลักษณ์ วัฒนสิงหะ


8.พรรคกิจสังคม
พรรคกิจสังคม
ผู้นำทองพูล ดีไพร
ประธานที่ปรึกษาสุวิทย์ คุณกิตติ
เลขาธิการสยมภู เกียรติสยมภู
โฆษกเทวฤทธิ์ นิกรเทศ
นโยบายพรรค กิจสังคมมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทุกกลุ่ม พรรคจะดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้าน ส่งเสริมด้านเกษตรกรรมโดยใช้ชลประทานระบบท่อ ด้านเศรษฐกิจจะส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้นำ และพรรคจะพัฒนาเมืองหลวงโดยการกระจายความเจริญออกสู่เมืองบริวาร[1]
ก่อตั้ง4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
สำนักงานใหญ่ซอยหมู่บ้าน 99 ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร


พรรคกิจสังคม (อังกฤษ: Social Action Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[2] โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยให้ชื่อว่า "กิจสังคม" โดยแปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ โดยนำชื่อพรรคมาจากพรรคการเมืองนี้ในประเทศอังกฤษ
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ก่อตั้งพรรค และหัวหน้าพรรคคนแรกให้เหตุผลว่า
Cquote1.svg
อยู่ ที่ความรู้สึก ว่าบ้านเมืองของเราเริ่มจะเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนปรารถนา ที่นี้ผมเองและพวกพ้อง ลูกศิษย์ ลูกหาที่เขาทำการงานไปแล้วหลายคน มาคิดกันว่า ประชาธิปไตย นี่ความจริงก็เป็นสิ่งที่ เราต้องการกันทุกคนในเมืองไทย
แต่เมื่อมี ประชาธิปไตยแล้ว มันก็ไม่ควรจะคิดว่า เราจะได้อะไรจากประชาธิปไตย เราควรจะคิดว่าเราจะให้อะไรแก่ ประชาธิปไตย ซึ่งเราทุกคนปรารถนานั้นได้ เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว เราก็อยากให้เท่าที่เรามีจะให้ได้คือ ก็เรียกว่าประสบการณ์ของเรา ความสามารถของเรา ความเสียสละ และความจริงใจของเราที่จะ ทำประโยชน์ต่อบ้านเมือง
เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว เรายังเห็นว่า บ้านเมืองนี้ ยังต้องการคนที่พร้อมจะเสียสละ ทำการงานอีกมาก โดยที่ไม่หวังอะไรตอบแทน ก็เลยตั้งพรรค (กิจสังคม) นี้ขึ้น เพื่อที่จะมีส่วนเข้าส่งเสริม แล้วก็รักษาระบอบประชาธิปไตย แล้วก็ทำการงานให้บ้านเมืองตามระบอบประชาธิปไตยจะอำนวยให้
Cquote2.svg


9.พรรคไทยเป็นไท
พรรคไทยเป็นไท
ผู้นำนายพงศ์สุชิน วีระกิธพานิช (รักษาการ)
ประธานที่ปรึกษานายกุศลหมีเทศริ์ ศรีอารวงศา
นโยบายเชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้ดำรงอยู่คู่ชาติไทย ขันอาสาปลดหนี้ให้คนไทยทุกคน ๆละไม่เกิน 5 แสนบาท
ก่อตั้ง9 ธันวาคม พ.ศ. 2541
สำนักงานใหญ่81/9-10 ม.2 ต.บ้านกร่าง อ.กงไกรลาศจ.สุโขทัย 64170
พรรคไทยเป็นไท (Thais is Thai Party - TIP.) เป็นพรรคการเมือง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในชื่อ พรรคเกษตรมหาชน[1] โดย นายชูชาติ ประธานธรรม (ชื่อเดิม "ปราบสะดา หมีเทศ" หรือ กุศล หมีเทศ หรือ "กุศล หมีเทศทอง" หรือ "ดารัณ หมีเทศ" ) เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคคนขอปลดหนี้ โดยมติที่ประชุมใหญ่ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2546[2]
เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคคนขอปลดหนี้ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2549 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคไทยเป็นไท
ปัจจุบันพรรคไทยเป็นไท มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 326,000 คน[3] และมีนายพงศ์สุชิน วีระกิธพานิช รองหัวหน้าพรรคทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค


10.พรรคภมิใจไทย
พรรคภูมิใจไทย
ผู้นำนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
เลขาธิการนางพรทิวา นาคาศัย
โฆษกนายศุภชัย ใจสมุทร
นโยบายกอง ทุนประกันราคาสินค้าเกษตรข้าวเปลือกตันละ 20,000 บาท กองทุนสวัสดิการผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม กองทุนจ้างงานแห่งชาติ 1 ล้านตำแหน่ง กองทุนพันาแหล่งท่องเที่ยวผ่าน อปท. จังหวัดละ 100 ล้านบาทต่อปี ถนนปลอดฝุ่นทั้งประเทศ สร้างทางน้ำเข้าไร่นาเกษตรกร ศูนย์ฝึกนักกีฬาอาชีพ 4 ภาค และสร้างที่ทำกิน 1 ล้านคน[1]
คำขวัญประชานิยม สังคมเป็นสุข
ก่อตั้ง5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สำนักงานใหญ่2159/11 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร


พรรคภูมิใจไทย (ย่อว่า: ภท.) ก่อตั้งเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มี นายพิพัฒน์ พรมวราภรณ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก นายมงคล ศรีอ่อน เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก และนางวันเพ็ญ ขวัญวงศ์ เป็นโฆษกพรรคคนแรก [2]
ในปัจจุบันมี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรค นางพรทิวา นาคาศัย เป็นเลขาธิการพรรค และนายศุภชัย ใจสมุทร เป็นโฆษกพรรค


11.พรรคแทนคุณแผ่นดิน
พรรคแทนคุณแผ่นดิน
ผู้นำวิชัย ศิรินคร
เลขาธิการบุญธร อุปนันท์
โฆษกธนะเทพ สังเกิด
นโยบาย- สร้างรางรถไฟคู่ขนาน จำนวน 3 สาย ให้แล้วเสร็จภายใน 15 ปี (หนองคาย,อุบลราชธานี, เชียงใหม่)
- สนับสนุนกองทุนกู้ยืมกองทัพแรงงานไทยอีสาน ไปทำงานในต่างประเทศ กว่าห้าแสนคนไปทำงานก่อนแล้วผ่อนให้รัฐทีหลัง
คำขวัญประโยชน์สุขของประชาชน คือ นโยบายสูงสุด
ก่อตั้ง9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
สำนักงานใหญ่16 ซอยลาซาน 42 เขตบางนา กรุงเทพ10260


พรรคแทนคุณแผ่นดิน (อังกฤษ: Thaen Khun Phaendin Party) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดย กลุ่มแทนคุณแผ่นดินอีสาน นำโดยวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ พรรคไทยรักไทย ที่แยกตัวออกมาพรรคพลังประชาชนเนื่องจากนายวิวรรธนไชยอ้างว่า นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เคยพูดจาดูถูกคนอีสานไว้ในอดีต จึงไม่อาจยอมรับได้[1]
เดิมจะใช้ชื่อว่า พรรคแทนคุณแผ่นดินอีสาน[2] เนื่องจากมีเป้าหมายจะเป็นพรรคที่มีบทบาทในพื้นที่ภาคอีสานโดยเฉพาะ แต่ต่อมาได้ยุบเลิกไป[3] และจัดตั้ง พรรคแทนคุณแผ่นดิน ขึ้นมาใหม่ โดยมี ดร.มานะ มหาสุวีระชัย อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคพลังธรรมและพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าพรรค
พรรค แทนคุณแผ่นดิน มีสมาชิกจำนวนกว่า 6,174 คน สาขาจำนวน 5 สาขา มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 16 ซอยลาซาน 42 เขตบางนา กรุงเทพ โดยมีนายวิชัย ศิรินคร เป็นหัวหน้าพรรค


12.พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
ผู้นำนายโชติ บุญจริง
เลขาธิการนายวิเชียร ควรเอี่ยม
โฆษกนางประภาพรรณ ทับทิมถาวร
ก่อตั้ง20 มิถุนายน พ.ศ. 2549
สำนักงานใหญ่104 ซอยรณชัย 2 ถนนเศรษฐศิริ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร10400
โทรศัพท์ 0-2617-1495
โทรสาร 0-2279-1329


พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย (The Farmer Network of Thailand Party) ตัวย่อ : พนท. เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่20 มิถุนายน พ.ศ. 2549[1]
เป็นพรรคที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในช่วงที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดย เปลี่ยนสถานะจากเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย ที่เข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ด้วย โดยมีเจตนารมย์จะเป็นพรรคการเมืองภาคประชาชน มุ่งเน้นนโยบายไปที่เกษตรกรและชั้นชนใช้แรงงานในสังคม


13.พรรคการเมืองใหม่



พรรคการเมืองใหม่
ผู้นำนายสมศักดิ์ โกศัยสุข
เลขาธิการนายสุริยะใส กตะศิลา
โฆษกนายสำราญ รอดเพชร
คำขวัญซื่อสัตย์ เสียสละ กล้าหาญ ทำงานเป็น
ก่อตั้ง25 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สำนักงานใหญ่457 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
สีของพรรคสีเหลืองและสีเขียว


พรรคการเมืองใหม่ (อักษรย่อ: ก.ม.ม. อังกฤษ: New Politics Party - NPP) รหัสบริจาคภาษีให้พรรค 076 เป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยมีพื้นฐานมาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยมี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค นายสุริยะใส กตะศิลา เป็นเลขาธิการพรรค และ พล.ร.ท. ประทีป ชื่นอารมณ์ เป็นโฆษกพรรค
ปัจจุบัน มีนายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค หลังจากการลาออกไปของนายสนธิ ลิ้มทองกุล[1]
สีประจำพรรค คือ สีเหลือง หมายถึงการเชิดชูประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และสีเขียวหมายถึงการเมืองสะอาดปลอดมลพิษ


14.พรรคชาติไทยพัฒนา
พรรคชาติไทยพัฒนา
ผู้นำชุมพล ศิลปอาชา
ประธานที่ปรึกษาพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
เลขาธิการพันธุ์เทพ สุลีสถิร
โฆษกวัชระ กรรณิการ์
คำขวัญพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อพัฒนาชาติไทย
ก่อตั้ง18 เมษายน พ.ศ. 2551
สำนักงานใหญ่เลขที่ 33/157 หมู่ที่ 11 แขวงแสนแสบเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
สภาผู้แทนราษฎร
25 / 475


พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นพรรคการเมืองที่รองรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคชาติไทย ซึ่ง ถูกตัดสินยุบพรรคเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่ง ณ เวลานั้น เหลือ ส.ส. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ 13 คน จึงย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนาทั้งหมด ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 พรรคชาติไทยพัฒนาได้รับเลือกตั้ง 10 คน และปลายเดือนมกราคม ปีเดียวกัน มีสมาชิกจากอดีตพรรคมัชฌิมาธิปไตย ย้ายเข้าพรรคชาติไทยพัฒนา 2 คน รวมทั้งหมด 25 คน[3]


15.พรรคมาตุภูมิ
พรรคมาตุภูมิ
ผู้นำพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
เลขาธิการมั่น พัธโนทัย
โฆษกวิริยะ ลิขิตวงศ์
นโยบายสร้าง ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ ธำรงไว้ซึ่งศาสนา พิทักษ์และเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งปกปักษ์และส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของชาติ ตลอดจนจะยึดมั่นในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนคนไทย[1]
คำขวัญรักมาตุภูมิ เทิดทูนคุณธรรม
ก่อตั้ง3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สำนักงานใหญ่555 อาคารเบญจมาศ ชั้น 5 ถนนร่วมจิตร์ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิตกรุงเทพมหานคร


พรรคมาตุภูมิ (อังกฤษ: Matubhum Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เดิมชื่อพรรคราษฎร และเปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 [2] ในระยะแรกพรรคราษฎร ยังไม่มีบทบาททางการเมือง เนื่องจากไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด
ต่อมากิจการของพรรคมาตุภูมิ ได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง ในปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังคดียุบพรรคใหญ่หลายพรรค นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วยสมาชิก ส.ส.กลุ่มวาดะห์ และกลุ่มปากน้ำของนายวัฒนา อัศวเหม ย้ายเข้ามาสังกัดพรรค[3]
นอกจากนี้แล้ว พรรคมาตุภูมิ ยังมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อมีข่าวว่ามีการเชิญ พลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน เป็นประธานพรรค[4] และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเวลาต่อมา[5]


16.พรรคมหาชน
พรรคมหาชน
ผู้นำอภิรัต ศิรินาวิน
เลขาธิการไพศาล เหมือนเงิน
โฆษกธีรพัฒน์ บุญภิรักษ์
ก่อตั้ง10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
เปลื่ยนชื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547


การเริ่มต้นของพรรคมหาชน มีพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เป็นแกนนำ โดยนโยบายพรรคมหาชนในระยะแรก ร่างโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งลาออกจากพรรค มาพร้อมกับพลตรีสนั่น นำเสนอนโยบายว่าเป็นพรรคทางเลือกที่สาม นอกเหนือจาก พรรคไทยรักไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ อย่าง ไรก็ตามมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์โจมตีว่า พรรคตั้งขึ้นมาเพื่อแย่งชิงฐานเสียงของ พรรคไทยรักไทย ในภาคเหนือ และจะร่วมมือจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคประชาธิปัตย์ ในภายหลัง [ต้องการอ้างอิง]
เมื่อแรกก่อตั้งพรรค พลตรีสนั่น ได้เชิญ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก และ กำลังจะหมดวาระ ให้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมหาชน แต่นายศุภชัยปฏิเสธ และต่อมาพิจารณารับตำแหน่งอื่นในสหประชาชาติต่อ พลตรีสนั่นจึงยกให้ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคแทน
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พลตรีสนั่น พร้อมด้วยนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย และสมาชิกพรรคมหาชน เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย โดย ให้เหตุผลว่ากฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของพรรคการ เมืองขนาดเล็ก ถือเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานของพรรคมหาชนไปโดยบริยาย [4]


17.พรรคประชาสันติ
พรรคประชาสันติ
ผู้นำเสรี สุวรรณภานนท์
ก่อตั้งพ.ศ. 2552


     พรรคประชาสันติ เดิมก่อตั้งขึ้นโดยมีชื่อว่า "พรรคธรรมาธิปัตย์" โดยมี ธันวา ไกรฤกษ์ เป็นหัวหน้าพรรค[1] ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "ประชาสันติ"[2]
ต่อมาในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 พรรคประชาสันติ ได้ประกาศร่วมงานทางการเมืองกับ ศ.ดร.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ พันธุ์เลิศ ใบหยก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณผศ.ดร.นพดล อินนา และ พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน โดยมีเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล[3] แต่ต่อมา ดร.ปุระชัย และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่งได้ออกไปจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่[4] คือ พรรครักษ์สันติ


18.พรรคความหวังใหม่
พรรคความหวังใหม่
ผู้นำชิงชัย มงคลธรรม
ประธานที่ปรึกษาพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
เลขาธิการจารึก บุญไชย
โฆษกสราวุฑ ทองเพ็ญ
คำขวัญเลิกทาสทางความคิด ติดอาวุธทางปัญญา นำพาชาติพ้นภัย
ก่อตั้ง11 ตุลาคม พ.ศ. 2533
สำนักงานใหญ่486/3 ซอยทรัพย์ประชา ถนนประชาอุทิศ แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310
สีของพรรคสีเหลือง


พรรคความหวังใหม่ (อังกฤษ: New Aspiration Party, ย่อว่า ควม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค และน.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ เป็นเลขาธิการพรรค ร่วมด้วยนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเช่น นายเสนาะ เทียนทอง นายจาตุรนต์ ฉายแสง และ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา มีสัญลักษณ์พรรคคือดอกทานตะวัน และมีคำขวัญพรรคว่า ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง
พรรคความหวังใหม่ ลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้เป็นฝ่ายค้าน และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และ พรรคความหวังใหม่ เป็นหนึ่งในบรรดา 4 พรรคการเมือง ที่เรียกกันในช่วงเวลานั้นว่า พรรคเทพ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
พรรคความหวังใหม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ได้ที่นั่ง ส.ส. จำนวน 125 ที่นั่ง โดยเฉือนชนะ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคคู่แข่งสำคัญไปเพียง 2 ที่นั่ง ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
พรรคความหวังใหม่ มีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสานหลังจากพล.อ.ชวลิต ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2540 จากการประกาศลดค่าเงินบาท และทำให้ระหว่างปีพ.ศ. 2540-2544 พรรคความหวังใหม่ต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็น พรรคฝ่ายค้าน


19.พรรคพลังคนกีฬา
พรรคพลังคนกีฬา
ผู้นำวนัสธนา สัจจกุล
เลขาธิการวิรุณ เกิดชูกุล
โฆษกกิตติพิชญ์ นองเนือง
นโยบายพัฒนาวงการกีฬาและสร้างความสามัคคีของคนในชาติ
คำขวัญรวมพลังคนกีฬา พัฒนาการเมืองไทย
ก่อตั้ง28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สำนักงานใหญ่134 ถนนรามคำแหง เขตสะพานสูงกรุงเทพ 10240


พรรคพลังคนกีฬา ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554เป็น ครั้งแรก โดยมีหมายเลขประจำพรรค คือ หมายเลข 36 ประกอบด้วยผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 103 คน ซึ่งพรรคพลังคนกีฬา ได้นำเสนอนโยบายการให้คนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อยุติปัญหาทางการเมือง โดยเสนอให้นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็น นายกรัฐมนตรี และนายวนัสธนา สัจจกุล หัวหน้าพรรคฯ จะขอเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะได้ใช้กีฬาสร้างความปรองดองในชาติ[4]


20.พรรคไทยสร้างสรรค์


ในช่วงแรกของการก่อตั้งนั้นเป็นการรวมตัวกันของผู้ความสนใจการเมือง จึงมีการก่อตั้งพรรคขึ้นในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 โดย มี นายวิบูลย์ แสงกาญจนวนิช เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีคณะกรรมการบริหารพรรครวม 11 คน จำนวนสมาชิก 18 คน หลังจากนั้นในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553 หัวหน้าพรรค พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน 5 คน ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง โดยในปัจจุบันมีคณะกรรมการทำหน้าที่รักษาการคณะกรรมการบริหารพรรค[3] คือ

  1. นายปวิตร ปานสถิตย์ ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค
  2. นายประสิทธิ์ พุกเงิน ทำหน้าที่รักษาการ เสนาธิการพรรค
  3. นายเกรียงสิน เจริญฉิม ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน และ เหรัญญิก


พรรคไทยสร้างสรรค์
ผู้นำปวิตร ปานสถิตย์
เลขาธิการประสิทธิ์ พุกเงิน
นโยบาย1.ให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยแก่ประชาชน
2.สร้างค่านิยมที่ดีกับผู้นำกลุ่มต่างๆ
3.ปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้กับเยาวชน
4.สร้างบุคคลตัวอย่างในด้านต่างๆ ให้กับเยาวชน[1]
ก่อตั้งพ.ศ. 2553